ปกติไม้บรรทัดมีความละเอียด 0.1 เซนติเมตร
คำว่าความละเอียดหมายถึงไม้บรรทัดสามารถทำให้เรามั่นใจว่าจะเพิ่มขีดละ 0.1 เช่น เมื่อเริ่มขีดยาว ๆ ที่เลข 1 เมื่อขยับไปอีกขีดทางขวาจะเป็น 1.1 เมื่อขยับไปอีกขีดจะเป็น 1.2 , 1.3, 1.4 ไปเรื่อย
จากรูปนักเรียนจะเห็นว่าก้อนวัตถุหนึ่งอ่านค่าได้ระหว่าง 3.6 หรือ 3.7 แต่ไม่มั่นใจ นักเรียนเลยประมาณโดยการแบ่งช่วงด้วยตัวเองระหว่าง 3.6 กับ 3.7 เป็นจำนวน 10 ช่อง ทำให้นักเรียนบอกได้ว่า มันอยู่ที่ 3.69 ซึ่งเลข 9 นี้เป็นเลขที่ไม่มั่นใจ(ลองถามเพื่อนข้าง ๆ หลายคนดู) แสดงว่าความละเอียดตอนนี้โดยสายตาเราเท่ากับ 0.01 เซนติเมตร นักเรียนอาจจะรายงานผลเป็น 3.69 ± 0.01 เซนติเมตร ซึ่งหมายถึงความยาวของวัตถุนี้อยู่ที่ 3.68 ถึง 3.70
แต่บางครั้งสายตาไม่สามารถจะแบ่งระหว่างเลข 3.6 และ 3.7 ได้ถึง 10 ช่อง ซึ่งบางคนขอแบ่งขีดตรงกลางระหว่าง 3.6 กับ 3.7 แสดงว่าความละเอียดโดยสายตาตอนนี้ของเขาคือ 0.05 ทำให้เขาเขียนรายงานผลเป็น 3.65 ± 0.05 เซนติเมตร ซึ่งก็ไม่ผิดอะไร เพราะยังสังเกตได้ชัดเจนว่าความยาวของวัตถุนี้อยู่ระหว่าง 3.60 ถึง 3.70
ไม่ว่าจะแบ่งแบบไหนตัวเลขข้างหลัง ± เราเรียกว่าความคลาดเคลื่อน (ความไม่แน่นอนในการวัด)
มากไปกว่านั้นบางคนอาจจะบอกว่าที่ขีดเริ่มต้นหรือที่ขีด 0 ก็น่าจะต้องเผื่อความคลาดเคลื่อน ทำให้ระบุค่าการวัดเป็น 3.6 ± 0.1 เซนติเมตร ซึ่งก็ไม่ผิดอะไร ทั้งนี้การระบุค่าที่วัดได้จึงขึ้นอยู่กับเหตุผลที่ให้ โดยไม่ Bias ไปทางใดทางหนึ่งมากเกินไป
ครูอยากจะนิยามเครื่องมือเวอร์เนียร์แคลิปเปอร์ว่าเป็นไม้บรรทัดที่ละเอียดกว่าไม้บรรทัด เพราะไม้บรรทัดบรรทึกทศนิยมได้ 2 ตำแหน่ง
แต่เวอร์เนียร์แคลิปเปอร์สามารถบันทึกทศนิยมได้ 3 ตำแหน่งในหน่วยเซนติเมตรเหมือนกัน ในห้องปฏิบัติการโรงเรียนนักเรียนจะได้ใช้เวอร์เนียร์แคลิปเปอร์ที่มีความละเอียด 0.002 เซนติเมตร
องค์ประกอบของเวอร์เนียร์แคลิปเปอร์ ประกอบด้วย
สเกลหลัก : สำหรับอ่านค่าความยาวของวัตถุอย่างอยาบ แบ่งเป็นขีดละ 0.1 เซนติเมตร
สเกลเวอร์เนียร์ : สำหรับอ่านค่าความยาวอย่างละเอียด
ปุ่มปรับเลื่อน : ปรับเลื่อนสเกลเพื่อวัดวัตถุ
เกลียวยึด : ใช้ยึดไม่ให้สเกลเลื่อนตำแหน่ง
ปากวัดสำหรับวัตถุด้านนอก : ใช้วัดความหนาภายนอกหรือเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก
ปากวัดสำหรับวัตถุด้านใน : ใช้วัดความกว้างภายในหรือเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน
ก้านวัดความลึก : ใช้สำหรับวัดความลึก
วิธีการอ่านเวอร์เนียร์แคลิเปอร์
สูตรลัด : สองตัวหน้า สองตัวหลัง
อ่านให้ได้สองตัวหน้า : ดูเลข 0 สเกลเวอร์เนียร์ว่าตรงกับสเกลตัวไหน ถ้าอยู่ระหว่างให้เอาสเกลหลักที่น้อยที่สุด จากรูปคืออยู่ระหว่าง 2.5 และ 2.6 ให้ใช้ 2.5 เป็นสองตัวหน้า
อ่านให้ได้สองตัวหลัง : ดูที่สเกลเวอร์เนียร์ว่าขีดใดตรงกับสเกลหลักจากรูปคือ เลข 7 ให้ใช้ 70 เป็นสองตัวหลัง (ถ้าเลขเลข 7 มาหนึ่งเส้นจะเป็น 72 ถ้าถึงก่อนหน้าเลข 7 หนึ่งขีดจะเป็น 68)
ระบุคำตอบ 2.570 เซนติเมตร
รายงานผล 2.570 ± 0.002 เซนติเมตร
สำหรับเวอร์เนียร์ที่มีความละเอียด 0.05 มิลลิเมตร หรือ 0.005 เซนติเมตรก็สามารถใช้เทคนิคสองตัวหน้า สองตัวหลังได้
สองตัวหน้า 2.5
สองตัวหลัง 60
เมื่อรวมกันจะได้ 2.560 เซนติเมตร
เมื่อรายงานผลจะต้องเขียน 2.560 ± 0.005 เซนติเมตร
เป็นเครื่องมือวัดความยาวที่ละเอียดกว่าไม้บรรทัดและไมโครมิเตอร์ แสดงตำแหน่งทศนิยมได้ 3 ตำแหน่งในหน่วยมิลลิเมตร เหมาะสำหรับวัดวัตถุที่มีความหนาน้อย ๆ
องค์ประกอบของไมโครมิเตอร์ ประกอบด้วย
แกนรับ และแกนวัด : ยึดวัตถุที่ต้องการวัด โดยแกนรับจะนิ่งอยู่กับที่ แต่แกนวัดจะเลื่อนเข้ามายึดติด
ปลอกหมุนหยาบ : หมุนเพื่อเลื่อนแกนวัดยึดติดตัวอย่าง โดยห้ามหมุนจนกดวัตถุมากเกินไป
ปลอกหมุนละเอียด : หมุนเพื่อยึดติดกับตัวอย่างพอดี
สเกลหลัก อ่านค่าระยะของวัตถุอย่างอยาบ แบ่งเป็นขีดละ 0.5 มิลลิเมตร
สเกลละเอียด (สเกล]ไมโครมิเตอร์ หรือสเกลเวอร์เนียร์) : อ่านค่าระยะของวัตถุอย่างละเอียด มี 50 ช่อง ค่าที่อ่านได้อยู่ในช่วง 0.00 – 0.49 มิลลิเมตร
สลักยึด : ยึดให้แกนวัดไม่เคลื่อนที่
วิธีการอ่านค่าไมโครมิเตอร์